ข่าวสาร Archives - รถมือสอง คุณภาพดีราคาถูกที่สุด เอ็ดดี้ สมาร์ท คาร์
ขนส่งฯ ประกาศคลายล็อกเปิดทำใบขับขี่เต็มรูปแบบได้ตั้งแต่ 21 มิ.ย. เป็นต้นไป

กรมการขนส่งทางบก คลายล็อก!!! 21 มิถุนายน 2564 เปิดให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถทุกกระบวนงาน ระบุ!!! ผู้จองคิวขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่หรือการอบรมที่สำนักงาน ที่เคยได้รับคิวระหว่าง 16 เมษายน 2564 – 18 มิถุนายน 2564 สามารถเลือกวันและเวลารับบริการได้ก่อน ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่จองคิวได้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป สามารถเข้ารับบริการได้ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
กรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในหลายพื้นที่ดีขึ้นตามลำดับ และ ศบค. ได้ผ่อนคลายให้ประชาชนกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้มากขึ้นควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุข กรมการขนส่งทางบก จึงผ่อนคลายการควบคุมการให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ เพื่อให้สำนักงานขนส่งทุกแห่งกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติทุกกระบวนงาน ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป สำหรับสำนักงานขนส่งที่มีจำนวนการจองคิวล่วงหน้าจำนวนมากจะให้บริการผู้จองคิวคงค้างเดิมก่อนเป็นลำดับแรก
โดยผู้ที่เคยจองคิวขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่หรือกระบวนงานที่มีการอบรม ณ สำนักงานขนส่ง ที่ได้รับคิวระหว่างวันที่ 16 เมษายน 2564 – 18 มิถุนายน 2564 สามารถเข้าระบบจองคิวเพื่อเลือกวันและเวลาที่สะดวกในการเข้ารับบริการใหม่ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.30 น. ทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถรายใหม่ รวมถึงการดำเนินการที่ต้องเข้าอบรมที่สำนักงานขนส่งซึ่งงดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นจึงจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่เคยจองคิวมาก่อนเข้าระบบจองคิวได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ได้จองคิวและได้รับคิวตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ให้เข้ารับบริการได้ตามวันและเวลาที่นัดหมายตามปกติ พร้อมกันนี้ ให้สำนักงานขนส่งทุกแห่งติดตามและประเมินการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเป็นไปตามประกาศจังหวัดหรือประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
การขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถทุกกระบวนงานต้องดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด และบริหารจำนวนการให้บริการประชาชนผ่านระบบการจองคิว ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้เต็มศักยภาพเหมือนในสภาวะปกติ กรมการขนส่งทางบกจึงได้ประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอให้ผ่อนผันการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กับผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่สิ้นอายุแล้วเพิ่มเติมจากเดิม สามารถใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 สำหรับผู้ที่ใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถสิ้นอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ในระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 กรมการขนส่งทางบกมีมาตรการเยียวยารองรับ ดังนี้ ผู้ที่ใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สิ้นอายุเกิน 1 ปี ได้รับการยกเว้นการทดสอบข้อเขียน กรณีสิ้นอายุเกิน 3 ปี ได้รับการยกเว้นการทดสอบขับรถ หากเป็นใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สิ้นอายุเกิน 3 ปี ได้รับการยกเว้นการทดสอบขับรถ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมการขนส่งทางบก
แนะนำ เส้นทางเลี่ยงรถติดช่วงสงกรานต์ จากกรมทางหลวง
กรมทางหลวงแนะนำเส้นทางเลือกบนทางหลวงสายหลัก-สายรองสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าในช่วงสงกรานต์ 2564 นี้
กรุงเทพฯ ไปยัง ภาคเหนือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไปรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.พระนครศรีอยุธยา – จ.อ่างทอง – จ.สิงห์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย) – อ.มโนรมย์ (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป จ.นนทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง – สุพรรณบุรี) –จ.สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณบุรี – ชัยนาท) – จ.ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้า สู่จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไปรังสิต – อ.วังน้อย – จ.สระบุรี – จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – อ.ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไปรังสิต – ต่างระดับคลองหลวง (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – เชียงรากน้อย (ทางหลวงหมายเลข 3214) – ทางหลวงหมายเลข 347 จากนั้นมุ่งหน้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 เข้าสู่ภาคเหนือ
เส้นทางที่ 5 จากกรุงเทพฯไปวงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) – ต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) – อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – ถนนโรจนะ (ทางหลวงหมายเลข 309) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 เข้าสู่ภาคเหนือ
กรุงเทพฯ ไปยัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ไป จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – ต.ม่วงค่อม (ทางหลวงหมายเลข 21) –ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ (ทางหลวงหมายเลข 2256) – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 201) – อ.ด่านขุนทด (ทางหลวงหมายเลข 2148) – อ.ขามทะเลสอ (ทางหลวงหมายเลข 2068) – ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) – อ.บ้านนา (ทางหลวงหมายเลข 3051) – อ.แก่งคอย (ทางหลวงหมายเลข 3222) – อ.ปากช่อง (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา หรือจากอ.บ้านนาไร่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งหน้าสู่อ.กบินทร์บุรีสู่อ.อรัญประเทศ
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไป จ.ฉะเชิงเทรา (ทางหลวงหมายเลข 314 หรือ ทางหลวงหมายเลข 304) –
อ.พนมสารคาม – อ.กบินทร์บุรี – อ.วังน้ำเขียว – อ.ปักธงชัย (ทางหลวงหมายเลข 304) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมากรุงเทพฯ ไปยัง ภาคตะวันออก
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.ชลบุรี (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพฯ – ชลบุรี – พัทยา)
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34 ถนนบางนา-ตราด) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป อ.พนัสนิคม – จ.ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304)
กรุงเทพฯ ไปยัง ภาคใต้
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สมุทรสาคร – จ.สมุทรสงคราม (ทางหลวงหมายเลข 35) – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.สามพราน – อ.นครชัยศรี – จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) – อ.นครชัยศรี –จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายระหว่างเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 สายด่วนมอเตอร์เวย์ 1586 กด 7 และตำรวจทางหลวง 1193
ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก กรมทางหลวงด้วยนะคะ
7 ข้อเช็กสภาพรถ ก่อนเดินทางไกล ช่วงหยุดยาว
นอกจากเตรียมดาวน์โหลดเพลงไว้ฟังแก้เบื่อขณะขับรถทางไกล ในช่วงวันหยุดยาวแล้ว ยานพาหนะที่ใช้เดินทางก็ห้ามละเลยเด็ดขาด วันนี้เครื่องยนต์คนขยันมาแนะนำวิธีเช็กสภาพรถยนต์แบบทำเองได้ มือใหม่แบบไม่รู้เรื่องเครื่องยนต์ก็ทำตามได้
1. เริ่มต้นตรวจสภาพรถยนต์ด้วยการเดินรอบรถก่อนเลย ก้มๆ เงยๆ ดูใต้ท้องรถเสียหน่อย มีคราบน้ำมันหรือน้ำแอร์ไหลออกมามากเกินปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติ พบช่าง เชิญปากซอยนะจ๊ะ
2. สตาร์ตรถเปิดไฟให้สว่าง แล้วเดินรอบรถตรวจให้ครบว่าไฟติดทุกดวง ไฟสูง ไฟเบรก ไฟฉุกเฉิน ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก ตรวจดูไฟส่องสว่างทุกดวงให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติ
3. ดับเครื่องเปิดกระโปรงรถ ดูแบตเตอรี่ หัวใจหลักที่คอยจ่ายไฟของตัวรถ หากเป็นแบตเตอรี่แบบน้ำ ควรเติมน้ำกลั่นให้เรียบร้อย ดูอายุของแบตฯ ว่าสมควรเปลี่ยนหรือเปล่า โดยแบตเตอรี่ส่วนใหญ่มีอายุขัยใช้งานประมาณ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแล แต่ถ้าลองสตาร์ตแล้วเสียงไม่เพราะรื่นหู ประกอบกับระยะเวลาที่ใช้งานมา หากเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนเถอะ
4. ยางรถยนต์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากยางไม่บวม ผิวหน้ายางความลึกน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร จากหน้ายางใหม่ 8-10 มิลลิเมตร ก็เป็นอันว่าได้ฤกษ์เปลี่ยนยางใหม่ หรือถ้ายางยังอยู่ในสภาพดี ควรเติมลมยางตามที่คู่มือรถแนะนำมาไม่อ่อนหรือแข็งจนเกินไป
5. เช็กผ้าเบรก เสียงเบรก และน้ำมันเบรก ตรวจได้โดยการเหยียบเบรก หากมีเสียงดังผิดปกติแสดงว่าผ้าเบรกอาจมีปัญหา ควรเข้าอู่ให้ช่างดูด่วน และอย่าลืมเช็กน้ำมันเบรก ควรให้อยู่ในปริมาณที่เพียงพอ ควรตรวจสอบผ้าเบรกทุก 3 เดือน และเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อผ้าเบรกหนาน้อยกว่า 4 มม. หรือทุกๆ 25,000 – 50,000 กิโลเมตร
6. จอดรถให้อยู่ในที่ราบ เปิดฝากระโปรงรถ มองหาก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง และดึงก้านวัดขึ้นมา ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่บนก้านวัด เสียบก้านวัดคืนจุดเดิมแล้วดึงขึ้นมาเพื่อเช็กอีกครั้ง และสังเกตแถบน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่บนก้านวัด ควรอยู่ระหว่างขีด F กับ L หรือ Max กับ Min แต่ถ้าอยู่มากหรือน้อยเกินไปควรเติมหรือลดน้ำมันเครื่องให้อยู่ระดับปกติ
7. แม้ตอนนี้อากาศจะร้อนอย่างกับไฟเยอร์ แต่พายุฝนก็อาจตกมาได้อย่างไม่คาดฝัน ดังนั้นที่ปัดน้ำฝนสำคัญมากสำหรับการขับรถทางไกล เพราะฉะนั้นควรเช็กดูว่ายางปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพ หรือสามารถรีดน้ำได้ดีหรือไม่
สุดท้ายก่อนออกรถ อย่าลืมดูว่าพกใบขับขี่หรือยัง รวมถึงเอกสารสำคัญ เช่น พ.ร.บ.ต้องไม่หมดอายุ ประกันรถยนต์ต่ออายุตามกำหนดหรือไม่ และก่อนออกจากบ้านดึงปลั๊ก ปิดสวิตช์ไฟในบ้าน และล็อกประตูบ้านให้เรียบร้อย เท่านี้ก็เที่ยวอย่างสบายใจแล้ว
ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.thairath.co.th/news/auto
คอมแอร์รถพังจากน้าหอมจริงหรือ?
ปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการใช้น้ำหอม เจล การบูร หรือสเปรย์ต่าง ๆ เพื่อช่วยดับกลิ่นอับและกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ในความจริงแล้วสารเคมี จากน้ำหอมจะระเหยไปเกาะในตู้แอร์ (คอยล์เย็น) ทำให้ภายในห้องโดยสารกลิ่นอับมีมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งยังส่งผลเสียกับสุขภาพด้วย เพราะการสูดดมเข้าไปเป็นเวลานานๆ จะมีผลต่อร่างกายของเรา เช่น มึน ง่วง โดยเฉพาะผู้ที่แพ้กลิ่นน้ำหอม อาจถึงขั้นอาเจียนออกมาเลย นอกจากนี้ น้ำหอม ที่เป็นแบบชนิดน้ำ หากมีการรั่วซึมไปสัมผัสกับชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก จะกัดชิ้นส่วนนั้นๆจนลอก ด่าง แตกหัก ซึ่งความเสียหาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณพลาสติกตรงช่องแอร์ครับ เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งน้ำหอม มักจะติดตั้งไว้ที่บริเวณนี้ และในระยะยาว อาจทำให้ระบบแอร์ตันได้ เพราะไอละเหย จะเข้าไปสะสมอยู่ในตู้แอร์เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่างๆ จะก่อให้เกิดคราบเมือก และเมื่อสะสมไปนานๆ จะยิ่งจับตัวเป็นก้อน ทำให้แอร์ตัน แอร์ไม่เย็น แอร์ทำงานหนักเกินกว่าที่ควรจะเป็น สุดท้ายก็คือแอร์พังครับ
ข้อดีของ”เบาะผ้า” ที่เราไม่ค่อยรู้กัน!!
ปัจจุบันหลายคนมองว่าเบาะผ้าในรถยนต์มีไว้เพื่อให้ต้นทุนต่ำ ไม่หรูหราเท่ากับเบาะหนัง แถมยังล้าสมัยแบบสุดๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น เบาะผ้ากลับมีข้อดีหลายประการอย่างที่หาไม่ได้ในเบาะหนังอีกด้วย จะมีอะไรบ้าง?
เบาะไม่อมความร้อน
โดยปกติแล้วเบาะนั่งที่หุ้มด้วยหนังแท้ชั้นดีจะมีคุณสมบัติไม่อมความร้อนเท่ากับหนังสังเคราะห์ แต่รถที่ใช้กันส่วนใหญ่ก็จะมีหนังสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบด้วยกันแทบทั้งนั้น ดังนั้นเวลาที่จอดรถทิ้งไว้กลางแดดนานๆ จึงรู้สึกถึงความร้อนบริเวณแผ่นหลังเมื่อขึ้นมานั่งบนรถใหม่ๆ แตกต่างจากเบาะผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ผู้โดยสารไม่รู้สึกร้อนเท่ากับเบาะหนัง เหมาะสำหรับรถที่ต้องจอดทิ้งไว้กลางแดดเป็นประจำ
ยึดรั้งร่างกายขณะเข้าโค้งได้ดี
เบาะผ้าจะทำให้ร่างกายไม่ให้ลื่นไถลไปกับแรงเหวี่ยงของรถโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเข้าโค้ง ต่างจากเบาะหนังที่จะลื่นกว่ามาก ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมรถแรงๆ หรือซูเปอร์คาร์มักเลือกใช้วัสดุหนังกลับมาหุ้มเบาะ เนื่องจากมีคุณสมบัติคล้ายเบาะผ้าหรือกำมะหยี่ในการยึดรั้งร่างกายให้อยู่กับที่
แต่หลายคนก็อาจรู้สึกว่าเบาะผ้านั่งไม่สบายนัก เนื่องจากไม่สะดวกในการปรับเปลี่ยนอริยาบทต่างๆ ซึ่งก็ถือเป็นข้อเสียของเบาะผ้าที่ต้องยอมรับนั่นเอง
ให้ความนุ่มสบายกว่า
จริงอยู่ที่เบาะนั่งหุ้มหนังแท้คุณภาพดี มักให้ความนุ่มสบายอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ แต่หากเป็นเบาะหนังสังเคราะห์เกรดไม่สูงนักซึ่งมักพบได้จากร้านรับหุ้มเบาะทั่วไปล่ะก็ มักจะให้ความรู้สึกแข็งกระด้าง ไม่นุ่มนวลเท่ากับเบาะผ้าแบบเดิมๆ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนเปลี่ยนเป็นเบาะหนัง หรือยอมกัดฟันลงทุนเลือกหนังคุณภาพดี จะช่วยให้คุณใช้รถได้อย่างแฮปปี้มากกว่า
.คงสภาพเดิมได้ยาวนานกว่า
แม้ว่าเบาะหนังจะสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่อมฝุ่น เช็ดคราบสกปรกได้อย่างสะดวก แต่เบาะหนังก็อาจเสียรูปได้ง่ายเวลาที่ใช้งานไปนานๆ ทำให้ดูเก่าโทรมลงได้ โดยเฉพาะเบาะหนังประเภทที่ดีลเลอร์แถมมาให้นั้น ส่วนมากมักเป็นหนังพียูหรือพีวีซีที่คุณภาพไม่สูงนัก ทำให้หนังแตกหรือขาดออกเมื่อใช้งานไปนานๆ ต่างจากเบาะผ้าที่มักคงสภาพเดิมได้ยาวนานกว่า
อย่างไรก็ดี เบาะผ้ามีข้อเสียหลายอย่างที่ต้องยอมรับด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการสะสมความชื้นและสิ่งสกปรกได้ดี ซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์และเชื้อโรคที่ต้องสัมผัสกับร่างกายตลอดเวลา แถมยังดูแลรักษายาก จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการทำความสะอาดให้หมดจด อีกทั้งยังมีผลต่อราคาขายต่อ เนื่องจากผู้ซื้อมักจะมองหาเบาะหนังเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ราคาขายต่อไม่ดีเท่า
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะนำรถเบาะผ้าไปหุ้มหนังแล้วล่ะก็ ลองพิจารณาข้อดี-ข้อเสียเหล่านี้ดูก่อน จะได้ใช้รถอย่างมีความสุขนั่นเองครับ
ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.sanook.com/auto/